วันศุกร์, 9 พฤษภาคม 2568

วิชาตรรกศาสตร์ ใช้แก้ไขปัญหาควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า

มีใครเคยสงสัยบ้างว่าวิชาตรรกศาสตร์ เรียนตอน มัธยมปลาย วิชาดิจิตอลเรียนตอน ปวช. เรียนไปทำไม แล้วเอามาใช้ทำอะไร วิชานี่ละสำคัญที่สุด ใช้ออกแบบคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในปัจจุบัน เคยเชื่อมั๊ย คอมรุ่นปู่ออกแบบจากรีเลย์ แค่ทำงานบวกเลขลบเลข ขนาดคอมเท่าตึก 2-3 ชั้น ปัจจุบันถูกเปลี่ยนจากรีเลย์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำเหลือขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว กำลังจะพาออกทะเลแบ้ววว🙃 เข้าเรื่องๆ พอดีมีโจทย์ออกแบบตู้ควบคุมปั๊มน้ำ

-ถ้าปั๊มตัวที่ 1 ทำงาน ปั๊มตัวที่ 2 จะไม่ทำงาน

-ถ้าปั๊มตัวที่ 1 เสีย ปั๊มตัวที่ 2 ทำงาน

-ปั๊มตัวที่ 1 และ 2 ต้องไม่ทำงานพร้อมกัน

แค่อ่านก็งงแล้ว ต้องมีหลักการออกแบบ ก็วงจรดิจิตอลแบบบ้านๆนี่ละ ไม่เกิน 20 นาทีออกแบบเสร็จ เริ่มๆได้แล้ว (ขี้โม้จังงง 555)

1. เขียนเงื่อนไขการทำงานลงตาราง truth table ให้ได้

2. ลดรูปสมการโดยใช้ แผนผังคาร์โนห์

3. เขียน logic diagram

4. เขียน ladder diagram

จบเสร็จประกอบตู้ทดสอบ ออกแบบ 20 นาที ถ้าประกอบบน PLC ก็ 12 ชั่วโมง ประกอบแบบรีเลย์ประมาณ 24 ชั่วโมง😅 ส่วนจะทำงานได้หรือเปล่าอย่าไปสนใจ เอาหลักการก็พอ ถ้าผิดก็โทษ google 555 (เรียนจบมา 20 กว่าปีแล้ว)

ปล.ตอนนี้อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่เอามาใช้ทำตัวประมวลผลติดเรื่องความเร็ว ไปต่อได้ยากละ ควอนตั๊มคอมพิวเตอร์คือคำตอบ โม้ไปเรื่อย ชีวิตยังนั่งประกอบตู้อยู่เลยครับ